การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันต้องพิจารณาความสำคัญของการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อมูลมีบทบาทสำคัญในการวางกลยุทธ์ธุรกิจ การตัดสินใจ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ารวมถึงการวิเคราะห์คู่แข่งที่ช่วยสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้
โดยเฉพาะธุรกิจที่สนใจเข้าประมูลงานกับทางภาครัฐ หรือต้องการหาโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ใหม่ การใช้โซลูชันเทคโนโลยีอย่าง ระบบจัดการข้อมูลอัตโนมัติ หรือปัญญาประดิษฐ์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดความล่าช้าในการติดตามข้อมูล และช่วยทำให้ซัพพลายเออร์ได้ข้อมูลเชิงลึกในการนำไปใช้วางแผนกลยุทธ์การจัดซื้อในองค์กรได้ โดยวันนี้เราจะมาแนะนำ 5 ข้อดีในการใช้ G-LEAD ติดตามข้อมูลงานประมูลภาครัฐเพื่อใช้ข้อมูลเชิงลึกในการวางแผนธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อ มีอะไรบ้างมาดูกันเลย
ตัวอย่างข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ได้จากระบบ G-LEAD
G-LEAD เป็นระบบรวบรวมโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่สามารถอัพเดตข้อมูลได้แบบวันต่อวัน ทำให้ซัพพลายเออร์หรือทีมเซลล์ที่ต้องการติดตามความคืบหน้าของโครงการจัดซื้อจัดจ้างในระบบงานประมูลภาครัฐ สามารถติดตามได้อย่างรวดเร็วและยังให้ข้อมูลเชิงลึกในการนำไปวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การจัดซื้อได้ โดยระบบจะอัพเดตข้อมูลเชิงลึกแบบอัตโนมัติให้ดังนี้
ภาพรวมข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้าง
G-LEAD สามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของทุกงานประมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยจะอัพเดตให้แบบวันต่อวัน ไม่ว่าจะเป็น
– มูลค่าของโครงการที่กำลังสนใจ
– ชื่อหน่วยงาน
– สถานะโครงการ
– จังหวัด
– วันเปิด – ปิดประมูล
– ราคากลาง
– ผู้ชนะการประมูล
– เอกสารสำคัญ
– จำนวนผู้เข้าประมูลแบบวันต่อวัน
– ราคาปัจจุบันที่คู่แข่งกำลังยื่นแบบวันต่อวัน
ข้อมูลโครงการประมูลจัดซื้อจัดจ้างย้อนหลัง
เพื่อใช้ในการประกอบการวิเคราะห์ภาพรวมของตลาดของชนิดงานจัดซื้อจัดจ้างที่สนใจ เพื่อให้รู้ว่าโครงการจัดซื้อจัดจ้างใดที่ประมูลเสร็จไปแล้ว เพื่อนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์แนวโน้มของตลาดในปัจจุบัน และอนาคตได้
ข้อมูลผู้ชนะโครงการจัดซื้อจัดจ้าง
สามารถดูข้อมูลผู้ชนะของโครงการที่เคยประมูลเสร็จสิ้นไปแล้ว เช่น บริษัทผู้ชนะการประมูล ราคาที่ชนะการประมูล โดยสามารถนำข้อมูลนี้ไปเตรียมตัวขายสินค้าให้กับผู้ชนะอีกทีได้ รวมถึงการวิเคราะห์คู่แข่งในตลาดได้อีกด้วย
ใช้ข้อมูลจาก G-LEAD ช่วยวางกลยุทธ์จัดซื้ออย่างไร
1. สำรวจตลาดที่น่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจ
โดยสามารถนำข้อมูลงานจัดซื้อจัดจ้างที่ประมูลเสร็จไปแล้วเช่น หน่วยงานที่ทำการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ตั้ง จำนวนผู้เสนอราคา ราคากลาง ราคาที่ชนะการประมูล มาประเมินว่าควรเข้าประมูลโครงการนั้นๆ หรือไม่ เช่น จังหวัดที่เข้าประมูล ประเภทโครงการ หรือราคาที่ควรยื่นประมูล เป็นต้น และประเมินภาพธุรกิจว่าเหมาะกับการเข้าประมูลในโครงการนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
2. ใช้วางแผนเพื่อกำหนดราคาสินค้าและบริการ
การนำข้อมูลเช่น ราคากลาง ราคาประมูลที่ชนะ จากงานประมูลที่มีการประกวดราคาเสร็จเรียบร้อยแล้วสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ว่า ผู้ชนะการประมูลไปในราคาเท่าไหร่ และนำเสนอสินค้าหรือบริการอย่างไรให้ตอบโจทย์บริษัทที่เราอยากไปเป็นซัพพลายเออร์ให้ สามารถกำหนดราคาหรือปัจจัยในการผลิตให้สอดคล้องกับบริษัทที่ชนะการประมูลได้ เพื่อใช้วางแผนในการเข้าประมูลในครั้งถัดไป รวมถึงยังเป็นข้อมูลในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ
3. ศึกษาคู่แข่ง
สามารถรู้ได้ว่าในโครงการที่ใกล้เคียงกับธุรกิจของคุณมีผู้ชนะการประมูลเป็นใคร สามารถดูประวัติการยื่นราคาของบริษัทคู่แข่ง รวมถึงราคางานประมูลที่คู่แข่งเคยเสนอราคาชนะ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาวางแผนในการเข้าประมูลในโครงการถัดไป
4. เปิดคู่ค้าใหม่ทางธุรกิจ
นอกจากการศึกษาคู่แข่งแล้ว การใช้ข้อมูลที่ได้จาก G-LEAD จะสามารถรู้ได้ว่าโครงการที่เพิ่งประกาศผู้ชนะการประมูลเป็นใคร พร้อมราคาที่ชนะ เพื่อให้สามารถนำสินค้าและบริการไปเสนอขายกับผู้ชนะการประมูลอีกที เป็นการต่อยอดธุรกิจการขายได้อีกทางหนึ่ง
5. ติดตามโครงการที่สนใจแบบวันต่อวัน
G-LEAD มีระบบช่วยติดตามสถานะของโครงการตั้งแต่วันเริ่มขึ้นประกาศไปจนถึงวันสิ้นสุดการประมูล โดยสามารถติดตามข้อมูลโครงการจัดซื้อจ้างภาครัฐแบบวันต่อวันได้ว่ามีใครบ้างที่ยื่นประกวดราคาในโครงการ พร้อมระบุราคาที่ผู้เข้าประมูลทุกเจ้ากำลังยื่นประมูลอยู่ ช่วยซัพพลายเออร์ประหยัดเวลาการติดตามความคืบหน้าของโครงการ แทนที่จะต้องเข้าไปอัพเดตข้อมูลในเว็บของรัฐด้วยตนเองทุกวัน
หากคุณกำลังมองหาโซลูชันการจัดซื้อจัดจ้างที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต ลองใช้ G-LEAD ระบบค้นหาข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่เชื่อมกับฐานข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศไทย ที่จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาการค้นหาโครงการที่เหมาะสมกับธุรกิจอย่างรวดเร็ว เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับธุรกิจจากงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ