fbpx

รู้จักกับ 4 วิธีการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประมูลเข้าร่วมและเสนอราคาหรือข้อเสนอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-GP (Electronic Government Procurement) เป็นกระบวนการที่ได้รับความนิยมและก้าวไปสู่ระบบออนไลน์ในกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อความสะดวกสบายที่นำเสนอโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมการประมูลในโครงการต่างๆ

และเพื่อปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐบนระบบ e-GP สิ่งสำคัญที่ควรต้องรู้ก่อนการเข้าเสนอราคา นั่นก็คือ ประเภทของการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีข้อกำหนด และรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างที่นิยมจะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ แต่ละประเภทจะมีข้อแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกันได้ในบทความนี้

e-Bidding : การประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์

เป็นหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างทุกประเภททั้งสินค้าและบริการ เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงงานวางระบบสารสนเทศ ฯลฯ ผ่านระบบออนไลน์ ให้เข้ามาแข่งขันราคาภายในช่วงเวลาที่กำหนด โดยจะเป็นการซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีวงเงินเกิน 500,000 บาท  และเป็นสินค้าหรืองานบริการที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระบบข้อมูลสินค้า (e-catalog) ทั้งนี้หากงานจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินต่ำกว่า 500,000 บาท จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานรัฐว่าจะกำหนดให้โครงการนั้นๆ ไปอยู่ในประเภทการจัดซื้อจัดจ้างแบบ e-Bidding หรือแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้  

การประกวดราคาอิเล็กทรอกนิกส์ e-Bidding จะทำผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ e-GP หน่วยงานรัฐจะนำความต้องการในสินค้าหรือบริการนั้นๆ รวมถึงราคากลางที่ต้องการเปิดประมูลมาเผยแพร่ในระบบ e-GP เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบุคคลหรือนิติบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาประกวดราคาได้ วิธีการประมูลนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและลดปัญหาการล็อกคผลผู้ชนะ

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลจึงจำเป็นต้องคอยเฝ้าติดตามงานประมูลสม่ำเสมอ และอัพเดตความคืบหน้าของโครงการที่สนใจอย่างใกล้ชิด แต่ด้วยงานประมูลที่มีเป็นหลักพันโครงการต่อวัน ก็ทำให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลต้องใช้เวลานานในการค้นหาโครงการที่ตรงกับสินค้าหรือบริการที่ตรงกับธุรกิจ ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสในการเข้าประมูลได้ ธุรกิจบางรายจึงถึงกับต้องจ้างพนักงานเพื่อมาคอยติดตามงานประมูลโดยเฉพาะ

แต่ปัจจุบัน ผู้สนใจงานประมูลสามารถใช้แพลตฟอร์ม G-LEAD ช่วยให้ค้นหางานประมูลที่ตรงกับธุรกิจของคุณได้รวดเร็วขึ้น และยังจคัดกรองโครงการที่ตรงกับธุรกิจของคุณง่ายๆ เพียงใส่ Keyword ของงานประมูลที่ต้องการได้แบบไม่จำกัดจำนวน พร้อมอัพเดตทุกความเคลื่อนไหวของงานประมูลภาครัฐที่สนใจส่งให้ทางอีเมลแบบวันต่อวัน ตั้งแต่ยังเป็นร่างเอกสาร และข้อมูลเชิงลึกของโครงการต่างๆ เช่น สถานะการประมูล ราคากลาง รายชื่อผู้ชนะการประมูล ที่สามารถดาวน์โหลดเอกสารสำคัญเก็บไว้ได้ ช่วยธุรกิจประหยัดเวลาในการติดตามงานประมูล พร้อมยังได้ข้อมูลว่าใครเป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการที่สนใจ เพื่อให้ทีมขายนำไปต่อยอดในการขายสินค้าให้กับผู้ชนะการประมูลได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและทดลองใช้งานได้ที่ G-Lead แพลตฟอร์มค้นหาและติดตามงานประมูล 

ประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง e-bidding

e-Market : ระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์

เป็นอีกหนึ่งการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป สำหรับสินค้าและบริการที่มีคุณสมบัติไม่ซับซ้อน หรือเป็นสินค้าหรือบริการทั่วไป เช่น กระดาษ แฟ้มเอกสาร อุปกรณ์สำนักงาน ฯลฯ ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการที่กำหนดอยู่ใน e-Catalog โดยกรมบัญชีกลางจะรวบรวมผู้ค้าสินค้าแต่ละชนิด ให้ผู้ค้าลงทะเบียน พร้อมระบุสินค้าที่ต้องการขาย เมื่อส่วนราชการมีความต้องการซื้อ ระบบจะส่งประกาศไปให้ผู้ค้าที่ขายสินค้า โดยผู้ค้าสามารถเสนอราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที เพื่อให้ส่วนราชการพิจารณา คัดเลือกผู้ชนะการเสนอราคาได้ทันที โดยการเสนอราคาสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 

  • การเสนอราคาโดยวิธี RFQ (Request for Quotation ) ได้แก่ การจัดหาพัสดุ/บริการ ครั้งหนึ่งที่มีวงเงินเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท
  • การเสนอราคาโดยวิธีการประมูล (Thai Auction) ได้แก่ การจัดหาพัสดุ/บริการ ครั้งหนึ่งที่มีวงเงินเกิน 5,000,000 บาท

การจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบ e-Market จะมีข้อแตกต่างจากระบบ e-Bidding เล็กน้อย โดยระบบ e-Market สินค้า/บริการจะไม่มีความซับซ้อน และต้องถูกกำหนดอยู่ใน e-Catalog เท่านั้น และในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ

ประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง e-market

การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือก

เป็นวิธีการที่หน่วยงานของรัฐทำหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนด โดยจะคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่า 3 ราย ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างประเภทนี้ ผู้เข้าร่วมจะต้องมีรายชื่อตามที่หน่วยงานของรัฐเป็นคนกำหนดเท่านั้น 

การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือกนั้น โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่วงเงินเกิน 500,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานของรัฐ ถ้าหากหน่วยงานของรัฐต้องการให้เกิดการแข่งขันสามารถตั้งโครงการจัดซื้อจัดจ้างผ่านวิธี e-Bidding ก่อนได้ แต่ในกรณีที่ ประกาศเชิญชวนแบบ e-Bidding แล้วแต่มีเหตุต่างๆ เช่น ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ , ต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ, ต้องดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ หรือใช้ในราชการลับ หน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรูปแบบคัดเลือกได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานรัฐ

ขั้นตอนในกระบวนการคัดเลือก ประกอบด้วย

  • การสรรหาผู้ขาย/ผู้ให้บริการที่มีความเหมาะสม หน่วยงานภาครัฐจะทำการสรรหาผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่มีความเหมาะสมในงานหรือโครงการที่ต้องการดำเนินการ โดยการสรรหานี้อาจใช้วิธีการประชาสัมพันธ์หรือเสนอคัดเลือกตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ 
  • การระบุเกณฑ์ในการคัดเลือก: หน่วยงานภาครัฐจะกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ประมูล เช่น ประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้อง ความสามารถในการดำเนินงาน การได้รับรางวัลหรือใบรับรองที่เกี่ยวข้อง หรือเงื่อนไขทางการเงิน 
  • การเก็บข้อมูลและเอกสาร: ผู้ขอเข้าร่วมในกระบวนการคัดเลือกจะต้องเสนอข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์การคัดเลือก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและประเมิน 

การตรวจสอบและประเมินคัดเลือก: หน่วยงานภาครัฐจะทำการตรวจสอบและประเมินข้อมูลและเอกสารของผู้เสนอที่คัดเลือก เพื่อตัดสินใจว่าควรให้สิทธิ์ในการเข้าร่วมในกระบวนการประมูลหรือไม่

ประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง วิธีคัดเลือก

การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง

เป็นกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรต้องการจ้างหรือซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการที่เฉพาะเจาะจงเพียงรายเดียวเท่านั้น โดยทั่วไปจะกำหนดวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างไม่เกิน 500,000 บาท หรือถ้าหากวงเงินเกิน 500,000 บาทจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานรัฐ โดยการจัดซื้อจัดจ้างประเภทนี้เกิดขึ้นได้ในหลายกรณีด้วยกัน ตัวอย่างเช่น 

  1. ดำเนินการด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก/ใช้วิธีคัดเลือกแล้วไม่ได้ผล
  2.  ไม่เกินวงเงินที่กำหนดในกฎกระทรวง (ไม่เกิน 5 แสนบาท)
  3.  มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเพียงรายเดียว
  4.  มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุโดยฉุกเฉิน
  5.  เกี่ยวพันกับพัสดุที่ซื้อไว้ก่อนแล้ว
  6. เป็นพัสดุจะขายทอดตลาดโดยหน่วยงานของรัฐ
  7.  ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้างที่ต้องซื้อเฉพาะแห่ง
  8. กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง วิธีเฉพาะเจาะจง

ในปัจจุบัน หนึ่งในประเภทของการจัดซื้อจัดจ้างที่นิยมนั่นก็คือ การประกวดราคา (e-Bidding) เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทั่วไปสามารถเข้าร่วมประมูล มีสิทธิ์ในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ซึ่งการเปิดให้มีการประกวดราคาได้อย่างอิสระนั้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวให้พร้อมต่อการแข่งขันการประมูล G-LEAD สามารถช่วยเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการในการเข้าประมูลงานได้อย่างรวดเร็วเหนือคู่แข่ง ด้วยแพลตฟอร์มช่วยค้นหางานประมูลภาครัฐ ที่รู้ลึกทุกรายละเอียดงานประมูล ทั้งการจัดซื้อจัดจ้างวิธี e-Bidding วิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง ที่ตรงกับธุรกิจของคุณ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อทีมงานได้ที่นี่

สนใจทดลองใช้งาน G-LEAD

ประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง