การประมูลภาครัฐเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การเตรียมตัวสำหรับการประมูลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดประมูลภาครัฐ ซึ่งหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ SME ควรทำความรู้จักคือ “THAI SME-GP” ที่มีส่วนในการสนับสนุนสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการ SME ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐง่ายขึ้น เราจึงจะชวนมาทำความรู้จักกับ THAI SME-GP และสิ่งที่ผู้เข้าประมูลภาครัฐควรรู้
THAI SME-GP คืออะไร THAI SME-GP คือบริการขึ้นทะเบียน SME ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ SME สามารถเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้ง่ายขึ้น และหน่วยงานภาครัฐยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการของ SME เช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องไปขึ้นทะเบียนที่เว็บไซต์ www.thaismegp.com เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามที่ทาง สสว. กำหนด ผู้ประกอบการจะสามารถจัดการข้อมูลสินค้าและบริการในระบบ และได้รับสิทธิประโยชน์จากนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล เช่น การกำหนดสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างจาก SME หรือการให้สิทธิพิเศษในกระบวนการประมูล
เหตุผลที่ SME ควรให้ความสำคัญกับ THAI SME-GP
- เพิ่มโอกาสในการได้รับงาน
ด้วยมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ SME มีโอกาสสูงขึ้นที่จะได้รับงานจากการประมูล ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
- สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ SME
การได้รับงานจากภาครัฐไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรายได้ แต่ยังเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของบริษัท ทำให้มีโอกาสขยายตัวและเติบโตในตลาด
- เสริมสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ SME
การมีส่วนร่วมในโครงการภาครัฐช่วยให้ SME มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาธุรกิจระยะยาว
คุณสมบัติของ SME ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก THAI SME-GP
เป็นผู้ประกอบการ SME ที่ขึ้นทะเบียนสินค้าหรือบริการที่ thaismegp.com โดยต้องมีเอกสารประกอบการพิจารณาคือ
- เอกสารจัดตั้งธุรกิจ
- นิติบุคคล: สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กระทรวงพาณิชย์ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
- บุคคลธรรมดา: ทะเบียนพาณิชย์ หรือหลักฐานการจดทะเบียนกับหน่วยงานราชการ
- เอกสารแสดงรายได้
– นิติบุคคล: งบการเงินปีล่าสุด
– บุคคลธรรมดา: หลักฐานการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น เอกสารการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รายได้ของ SME ตามที่ สสว. กำหนด
– วิสาหกิจขนาดย่อย (Micro)
ภาคการผลิต, ภาคการค้า, ภาคบริการ ที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท
– วิสาหกิจขนาดย่อม (Small)
ภาคการผลิตที่รายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท
ภาคการค้าและภาคบริการที่รายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท
– วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium)
ภาคการผลิตที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท
ภาคการค้าและภาคบริการที่มีรายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท
สิทธิประโยชน์ที่ SME จะได้รับเมื่อเข้าร่วม THAI SME-GP
- สำหรับธุรกิจที่จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการประกวดราคา (e-Bidding)
หากผู้ประกอบการมีการลงทะเบียนกับ SME-GP และผ่านการอนุมัติจาก สสว. แล้ว SME จะได้สิทธิประโยชน์โดยการได้แต้มต่อเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกิน 10%
- สำหรับธุรกิจที่จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก
หน่วยงานภาครัฐจะต้องจัดซื้อจัดจ้างจาก SME ที่ สสว. ได้ขึ้นบัญชีไว้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการ SME โดยหน่วยงานของรัฐดำเนินการดังนี้
– คัดเลือกผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดของหน่วยงานของรัฐก่อนเป็นลำดับแรก (List จังหวัด) หากมีผู้ประกอบการ SME ไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกจากรายชื่อที่อยู่ในบัญชีนั้น
– หากมีผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่จังหวัด น้อยกว่า 3 ราย จะพิจารณาจากบัญชีรายชื่อที่ สสว. ขึ้นบัญชีไว้ทั้งหมด (List ประเทศ)
THAI SME-GP เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าร่วมประมูลโครงการภาครัฐได้มากขึ้น การทำความเข้าใจและเตรียมตัวสำหรับการประมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วนจะช่วยให้ SME ประสบความสำเร็จในการประมูลและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในตลาดธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง และเสริมอาวุธในการขายงานประมูลให้ภาครัฐไปอีกขั้นด้วย G-LEAD แพลตฟอร์มรวมข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ช่วยงวิเคราะห์คู่แข่ง วางแผนเพื่อเข้าประมูลภาครัฐได้รอบด้าน เพิ่มโอกาสชนะการเข้าประมูลภาครัฐได้เหนือกว่าคู่แข่ง