fbpx

การวิจารณ์ร่าง TOR ขั้นตอนที่ต้องรู้ สำหรับผู้ติดตามงานประมูลภาครัฐ

วิจารณ์ร่าง TOR

การวิจารณ์ร่าง TOR บนระบบจัดซื้อจัดจ้าง e-GP คือกระบวนการเพื่อส่งคำร้องแก้ไขรายละเอียด เอกสารที่กำหนดขอบเขตของการจัดหาพัสดุหรืองานจ้าง (TOR – Term of Reference) เป็นกระบวนการที่ให้โอกาสแก่ผู้สนใจเข้าประมูลให้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรายละเอียดของเอกสาร รายละเอียดการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป รวมถึงงานจ้างทุกประเภทในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล (Spec TOR) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประมูลมีส่วนร่วมในการแก้ไขและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายละเอียดของเอกสาร

โดยประเด็นที่มีการยื่นคำวิจารณ์ในระบบจัดซื้อจัดจ้างบ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างประกาศที่ระบุเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างไม่ชัดเจน หรือโต้แย้งในส่วนของสินค้าหรืองานจ้างที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม (Spec TOR) เป็นต้น

ขั้นตอนในการเปิดรับฟังคำวิจารณ์บนระบบ e-GP

1. หน่วยงานภาครัฐร่างประกาศและเผยแพร่แผนจัดซื้อจัดจ้าง

หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจะทำการประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP เป็นการร่างเอกสารที่กำหนดขอบเขตของงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในขั้นถัดไป

2. เปิดรับฟังคำวิจารณ์ในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

หลังจากเผยแพร่ร่างเอกสารที่กำหนดขอบเขตของงานเรียบร้อยแล้ว ภาครัฐจะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลมีส่วนร่วมในการยื่นคำวิจารณ์เกี่ยวกับ Spec TOR หรือข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับเอกสาร TOR ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขรายละเอียดต่างๆ หลังจากการร่างประกาศ

3.ระยะเวลาในการยื่นคำวิจารณ์ร่าง TOR

การยื่นคำวิจารณ์เพื่อแก้ไข Spec TOR หรือรายละเอียดต่างๆ นั้นสามารถทำได้ในระหว่างที่โครงการนั้นๆ อยู่ในขั้นตอนการเริ่มประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยผู้สนใจเข้าประมูลสามารถยื่นคำร้องเพื่อเปลี่ยน Spec ของวัสดุในกรณีที่เห็นว่าวัสดุไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขอื่นๆ รวมถึงเงื่อนไขใน TOR มีความไม่ชัดเจน ซึ่งปกติแล้วการเปิดให้ยื่นคำวิจารณ์จะมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 วันทำการขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้นๆ กำหนด

ระยะเวลาของโครงการที่เปิดรับฟังคำวิจารณ์ของแต่ละโครงการ สามารถดูได้บนระบบ e-GP “วันที่ประกาศ-วันที่สิ้นสุดรับฟังคำวิจารณ์”

โครงการประมูลลักษณะไหนบ้างที่เปิดให้ยื่นคำวิจารณ์

การเปิดให้วิจารณ์ร่างเอกสารประกาศขอบเขตของงานประมูลจะแบ่งเป็นสองกรณีคือ

1. วงเงินเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท 

จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานภาครัฐที่จะเปิดรับฟังคำวิจารณ์หรือไม่ก็ได้

2. วงเงินเกิน 5,000,000 บาท

หน่วยงานรัฐจะนำร่างประกาศและเอกสารการประกวดราคาเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังคำวิจารณ์จากผู้ที่สนใจเข้าประมูล

การตรวจสอบและพิจารณาคำวิจารณ์

หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้างจะตรวจสอบและพิจารณาคำวิจารณ์หรือข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้ประกอบการ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของคำวิจารณ์ และนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบหรือกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงพิจารณา Spec TOR ให้เหมาะสมกับงานประมูลนั้นๆ โดยหน่วยงานภาครัฐจะทำการร่างประกาศและร่างเอกสารจัดซื้อจัดจ้างที่ปรับปรุงแล้วมาเผยแพร่ในระบบ e-GP (e-Government Procurement) ของหน่วยงานของรัฐ และให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ที่ยื่นคำวิจารณ์ทุกรายทราบเป็นหนังสือ

ผู้ใดที่มีสิทธิ์ในการยื่นคำวิจารณ์

ผู้ที่มีสิทธิ์ในการยื่นคำวิจารณ์ในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจะต้องเป็นผู้ที่สนใจเข้าประมูลที่มีคุณสมบัติตามที่ร่างประกาศของโครงการนั้นๆ กำหนด เช่น มีความสามารถตามกฎหมาย ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่อยู่ในระหว่างการเลิกกิจการ ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน ผู้ที่ลงทะเบียนในระบบ e-GP แล้ว เป็นต้น

สามารถยื่นคำวิจารณ์ในช่องทางใด

ในปัจจุบันผู้มีสิทธิ์ในการยื่นคำวิจารณ์ต้องทำหนังสือเพื่อยื่นวิจารณ์ พร้อมลงลายมือชื่อ ระบุเหตุผลในการยื่นวิจารณ์ให้ชัดเจน และแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาหนังสือรับรอง ทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ยื่นอุทธรณ์ หนังสือมอบอำนาจ หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานโดยตรง ซึ่งระบบ e-GP จะมีการอัปเดตให้สามารถส่งคำวิจารณ์ในช่องทางเว็บไซต์ e-GP ได้ในอนาคต

หน่วยงานของรัฐจะพิจารณาคำวิจารณ์ด้วยหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

  1. คำวิจารณ์ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขในประกาศของโครงการนั้นๆ

ในขั้นแรกคณะกรรมการจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นวิจารณ์ว่ามีคุณสมบัติตรงกับเงื่อนไขที่ได้ระบุในโครงการนั้นๆ หรือไม่ หากผู้ประมูลยังไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น คณะกรรมการจะไม่รับพิจารณาด้านราคา หรือคุณภาพของวัสดุที่ต้องการแก้ไข สรุปคือต้องผ่านคุณสมบัติพื้นฐานตามเงื่อนไขในประกาศก่อนที่คณะกรรมการจะพิจารณาด้านอื่นๆ ในขั้นต่อไป

  1. พิจารณาด้านราคาและคุณภาพ

หลังจากคณะกรรมการพิจารณาด้านคุณสมบัติและเห็นว่าผู้ยื่นวิจารณ์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในประกาศแล้ว คณะกรรมการจึงจะมาพิจารณาในด้านความเหมาะสมของราคา และคุณภาพของวัสดุให้เหมาะสมกับเงื่อนไขและงบประมาณของโครงการนั้นๆ

การยื่นคำวิจารณ์นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยสร้างความเท่าเทียมให้กับผู้เข้าประมูล ให้สามารถตรวจสอบเงื่อนไขเอกสาร TOR ในกรณีที่เงื่อนไขไม่ชัดเจน หรือเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รวมถึงสามารถยื่นคำร้องเพื่อแก้ไข Spec TOR ได้ เพื่อให้การตรวจสอบมีความโปร่งใสและเป็นธรรม

G-LEAD สามารถช่วยให้คุณติดตามข้อมูลเชิงลึกของงานประมูลภาครัฐที่คุณต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น รายชื่อผู้ชนะการประมูล งบประมาณของโครงการ เอกสารสำคัญ รวมถึงรู้ระยะเวลาที่โครงการนั้นๆ กำลังจะเปิดให้ยื่นคำวิจารณ์ เพื่อให้ผู้เข้าประมูลสามารถเตรียมตัวยื่นคำร้องได้ในระหว่างการเปิดประมูลได้ทันเวลา โดยข้อมูลเหล่านี้จะส่งให้คุณแบบวันต่อวันอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้เข้าประมูลรู้ทุกความเคลื่อนไหว ไม่พลาดโอกาสคว้างานประมูลภาครัฐ

ทดลองใช้งาน G-LEAD คลิก

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.mnre.go.th/

https://finance.cdd.go.th

https://bidding.pea.co.th

https://fb.watch/m9WNJQCpfW/