fbpx

3 แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบบัญชี

การตรวจสอบบัญชี

การตรวจสอบบัญชีเป็นกระบวนการตรวจสอบถึงความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลทางบัญชีขององค์กรหรือบุคคล กระบวนการนี้มุ่งเน้นในการตรวจสอบว่ารายการต่างๆ ที่ได้มีการบันทึกไว้มีความถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี และสอดคล้องกับข้อบังคับทางกฎหมาย

ส่วนใหญ่แล้ว การตรวจสอบบัญชีจะเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้ขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี (CPA – Certified Public Accountant) ในการทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งบริษัทจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้สอบบัญชีในการตรวจงบการเงินให้พร้อมก่อนนำไปยื่นแบบและเสียภาษีประจำปี 

สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบบัญชีมีหลายเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างเช่น การตรวจสอบรายการทางการเงินที่เข้าและออกจากบัญชี หลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ตรวจสอบต้นทุน สินทรัพย์ หนี้สิน กำไรของกิจการ ตรวจสอบการชำระภาษีของกิจการ วิเคราะห์งบประมาณ และทำรายงานข้อมูลแก่ผู้บริหาร เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ตรวจสอบบัญชีที่มีประสบการณ์สูงยังสามารถช่วยบริษัทในการวางแผนขั้นตอนการตรวจสอบบัญชี ศึกษาทำความเข้าใจธุรกิจ เพื่อช่วยแนะนำการทำแผนงบประมาณให้คุ้มค่า และแนวทางการจัดการภาษีด้วย

การตรวจสอบบัญชี

การตรวจสอบบัญชีสำคัญกับธุรกิจอย่างไร

ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในข้อมูลการเงิน

การตรวจสอบบัญชีช่วยให้บริษัทมั่นใจว่า งบการเงินที่จัดทำนั้นมีความถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้ว่าเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี ให้บริษัทมีงบการเงินที่ไว้ใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางที่ช่วยในการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานที่ถูกต้อง

ทำให้บริษัทสามารถมองเห็นการเงินของธุรกิจได้ครบทุกด้าน

การตรวจสอบบัญชีช่วยให้ธุรกิจมีบัญชีที่สะท้อนตัวเลขตามความเป็นจริง เช่น งบกระแสเงินสด ที่บอกที่มาที่ไปของกระแสเงินสดเข้า-ออกว่ามาจากกิจกรรมอะไรบ้าง หรืองบการเงินที่สะท้อนว่ากิจการมีสินทรัพย์เท่าไร หนี้สินหมุนเวียนเท่าไร ทำให้ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการมีข้อมูลที่สามารถวางแผนการใช้ทรัพยากรในองค์กรได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

ลดข้อผิดพลาดจากการทำบัญชีให้สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด

หากไม่มีผู้ตรวจสอบบัญชี อาจมีความเสี่ยงในการบันทึกข้อมูลทางบัญชีผิดพลาดไม่ตรงตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและขาดระบบการควบคุมภายในที่ดี เช่น บันทึกข้อมูลทางการเงินผิด ไม่ได้มีการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามรอบระยะเวลาบัญชี เป็นต้น การมีผู้ตรวจสอบบัญชีจึงช่วยประเมินความเสี่ยง และทำให้หาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและทันการ ช่วยให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงข้อกำหนดทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายภาษี การรายงานทางการเงินตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และหาทางจัดระเบียบ วางระบบงานเอกสารหรือการเงินภายในองค์กรให้มีความโปร่งใส และตรวจสอบข้อมูลการเงินได้

การตรวจสอบบัญชีมีความสำคัญกับกับธุรกิจอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการการตรวจสอบบัญชีตั้งแต่ การวางแผนการดำเนินงาน การดำเนินการตรวจสอบบัญชี และการสรุปรายงานทางการเงินรายปี เพื่อให้ธุรกิจสามารถนำรายงานทางการเงินนี้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อวางแผน บริหารความเสี่ยงของธุรกิจ และยื่นกับหน่วยงานภาครัฐเมื่อถึงเวลาปิดงบประจำปี การตรวจสอบบัญชีจึงต้องใช้ความรอบคอบ และความแม่นยำสูง โดยวันนี้เราจะมาแนะนำแนวทางที่ช่วยให้ผู้ตรวจสอบบัญชีจัดกระบวนการตรวจสอบบัญชีเสร็จสมบูรณ์เร็วขึ้น

การตรวจสอบบัญชี

3 แนวทางจัดกระบวนการตรวจสอบบัญชีให้มีประสิทธิภาพ

1. วางแผนการตรวจสอบบัญชีล่วงหน้า

การวางแผนเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจสอบบัญชี และควรพูดคุยกับลูกค้าให้เข้าใจกันตั้งแต่เริ่มต้น ถึงเป้าหมายและขอบเขตของการตรวจสอบบัญชี เพื่อให้ทราบว่า งานตรวจสอบบัญชีจะต้องทำอะไรบ้างและข้อมูลใดสำคัญที่สุด พร้อมประเมินความเสี่ยงของธุรกิจที่จะมีผลต่อการรายงานในงบการเงินเช่น มีรายได้รายจ่ายจากช่องทางไหนบ้าง มีการวางระบบบัญชีอย่างไร มีการบันทึกรายการเงินสดในรอบปีที่ผ่านมาอย่างไร เป็นต้น รวมถึงแหล่งเอกสารบัญชีที่มีการเก็บเอาไว้ เช่น เอกสารซื้อ เอกสารขาย สมุดบัญชี รายงานสต็อกสินค้า รายงานการเงิน ใบแจ้งยอดเครดิต หรือเอกสารทางการเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การวางแผนให้ชัดเจนจะช่วยให้จัดทำแนวทางการสอบบัญชีรวดเร็วขึ้นได้

2. ทำความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้า

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ตรวจสอบบัญชี ช่วยให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเข้าใจภาพรวมของธุรกิจ วัตถุประสงค์ และปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการสร้างรายได้ ต้นทุนของธุรกิจ การวางแผนการเงิน หรือความเสี่ยงทางธุรกิจ หากพบว่าการดำเนินงานขององค์กรยังมีข้อผิดพลาด ก็สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินงานภายในองค์กรได้

3. ตรวจสอบข้อมูลว่าสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนด

ตรวจสอบว่าการบัญชีและการทำธุรกรรมขององค์กรนั้นมีความสอดคล้องกับกฎหมายทางการเงินและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เช่น มีเอกสารและหลักฐานทางบัญชีครบถ้วน มีรายงานสต็อกสินค้า และที่มาที่ไปของสินค้าเข้า-ออกตรงกับที่มีการบันทึกบัญชี ปฏิบัติตามกฎหมายภาษี การประยุกต์ใช้หลักการการบัญชีและข้อกำหนดทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงข้อผิดพลาดของข้อมูลการเงินและสร้างความน่าเชื่อถือในธุรกิจ

การตรวจสอบบัญชีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจมีรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง มีความโปร่งใส พร้อมนำไปยื่นกับหน่วยงานรัฐเมื่อถึงเวลาปิดรอบบัญชีประจำปี ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้บริษัทหรือองค์กรมีกระบวนการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องและแม่นยำขึ้น นั่นก็คือ การหาเทคโนโลยีช่วยงานบัญชีอย่าง StatementPro ที่สามารถช่วยดึงข้อมูลรายการเดินบัญชีอัตโนมัติ และดึงข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ 3 นาที พร้อมปรับรูปแบบของข้อมูลทางด้านบัญชีจากธนาคารที่แตกต่างกันออกมาให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบบัญชีได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตรวจสอบบัญชี

ทดลองใช้ StatementPro ฟรี 14 วัน